วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
แบ่งตามลักษณะการผลิต   จำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary  Software)
2.  ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้ทั้วไป (Packaged  Software)  มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ (Customized   Package)และโปรแกรมมาตฐาน (Standard  Package)
          
ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน  จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้
1.กลุ่มการใช้งานทางด้านธุกิจ(Business)
2.กลุ่มการใช้งานด้านกราฟริกและมัลติมีเดีย (Graphic  and  Multimeddia)
3.กลุ่มการใช้งานบนเว็บ(Web  and  communications)

     

  กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (Business)
     ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้  ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น  เช่น  การจัดพิมพ์รายงานเอกสาร   นำเสนองานและการบันทึกนัดหมายต่างๆตัวอย่างเช่น
    โปรแกรมประมวลผลคำ อาทิ Microsoft  Word , Sun Staroffice  Wirter
     โปรแกรม ตารางคำนวณอาทิ Microsoft  Excel,Sun  Star Office  Cals
     โปรแกรมนำเสนองาน  อาทิ Microsoft Point,Sun StarOffice  Impress
                        

        กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟริกมัลติมีเดีย
    ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟริกและมัลตอมีเดีย   เพื่อให้งานง่ายขึ้น  เช่น  ใช้ตกแต่ง  วาดรูป   ปรับเสียง   ตัดต่อภาพเคลื่อนไหว   และการสร้างและการออกแบบเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น
    โปรแกรมงานออกแบบ  อาทิ Microsoft   Visio  Professional
    โปรแกรมตกแต่งภาพอาทิ  CorelDRAW,Adobe Photoshop
    โปรแกรมตัดต่อวิดิโอและเสียง   อาทิ Adobe Premiere,Pinnacle  Studio DV
    โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Authorware, Toolbook Instructor,Adobe Director
    โปรแกรมสร้างเว็บ  อาทิ  Adobe Flash,Adobe  Dreamweaver
                                             
          กลุ่มการใช้งานบนเว็ยและการติดต่อสื่อสาร
      เมื่อเกิดการเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเพ่มมากขึ้น เช่น  โปรแกรมการตรวจเช็คอีเมล  การท่องเว็บไซต์   การจัดการดูแลเว็บ  และการส่งข้อความติดต่อสื่อสาร   การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย   ตัวอย่างโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่
       โปรแกรมจัดการอีเมล  อาทิ Microsoft  Outlook, Mozzila   Thunderbird
       โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft  Internet Explorer,Mozzila  Firefox
       โปรแกรม ประชุมทางไกล  (Video  Conference)  อาทิ   Microsoft  Netmeeting
       โปรแกรมส่งข้อความด่วน  (Instant Messaging) อาทิ MSN Messesger/Windows  Messenger,ICQ
       โปรแกรมสนทนาบนอินเตอร์เน็ต  อาทิ  PIRCH,MIRCH
                             

ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
           การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที   แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก   จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร  เป็นประโยค  ข้อความ  ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า  ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง   ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย    บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั้งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์   และวิทยาศาสตร์   บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
    

  ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
    เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานมนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบการที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้   และทำงานได้อย่างถูกต้อง   จำเป็นต้องมีสื่อกลาง   ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว   เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน   เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์จะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้   และปฏิบัติตามจะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้   เราเรียกสื่อกลางนี้ว่า  ภาษาคอมพิวเตอร์
    ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย


ภาษาเครื่อง (Machine   Languages)
   เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นระหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์  รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้   คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้   เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
     การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันทีแต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก   เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก   จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นที่เป็นตัวอักษร

    ภาษาแอสเซมบลี  (Assembly   Languages)
       เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่อง   ภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์
        แต่อย่างไรก็ตามภาษาแอสเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มาก   และจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซมเบลอร์ (Assembler) เพื่อแปลชุดภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง

   ภาษาระดับสูง (High-Level  Languages)
       เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่  3  เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า  Statements   ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษ   ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้น   ผู้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น   เนื่องจากภาษาระดับสูงใกล้เคียงภาษามยุษย์   ตัวแปลภาษาระดับสูงเพื่อให้เป็นภาษาเครื่องนั้นมีอยู่2 ชนิด ด้วยกันคือ
 

  คอมไพเลอร์ (Compiler)  และอินเทอร์พรีเตอร์(Interpreter)
      คอมไพเลอร์  จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน   แล้วจึงทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
      อินเทอร์พรีเตอร์   จะทำการแปลทีละคำสั่งแล้วทำให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น  เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป  ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การเปลี่ยนแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง


      -การทำงานของระบบ Network และ Internet
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  1.เครือข่ายเฉพาะที่ (Local  Area  Network : LAN)  
         เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆกัน เช่น อยู่ภายในอาคาร  หรือหน่วยงานเดียวกัน
  2. เครือข่ายเมือง (Metropolitan  Area  Network : MAN)
          เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น   ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกันเป็นต้น
  3.เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide  Area  Network : WAN) 
          เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ   โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว   ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง  โดยมีการครอบคลุมไปทั่วประเทศ   หรือทั่วโลก เช่น อินเตอร์เน็ต  ซึ่งถือว่าเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น